ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (The Responsibilities of the Board)
คณะกรรมการเป็นผู้ มีบทบาทในการกํากับและดูแลกิจการเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
คณะกรรมการมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ ทั้งนี้โครง
สร้าง
คณะกรรมการบริษัทฯ ปัจจุบันมีกรรมการ 9 คนแบ่งออกเป็นกรรมการ 2 ชุด โดยมีกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน
กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 8 คน
บริษัทฯ มีประธานกรรมการที่ไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการผู้จัดการ และได้มีการแบ่งแยกอํานาจ
หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และกรรมการผู้จัดการไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งบริษัทฯ มีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่ง
เป็นกรรมการอิสระ 3 ท่าน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและการสอบทานการบริหารงานของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล
และเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายย่อย
คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อช่วยในการกํากับดูแลกิจการของบริษัทฯ
รายชื่อและอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปตามรายละเอียดในข้อหัวข้อกรรมการบริษัท
คณะกรรมการตรวจสอบจะมีการประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้งเพื่อพิจารณางบการเงิน การตรวจสอบภายใน
และการดําเนินงานต่างๆของบริษัทฯ
บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)
คณะกรรมการบริษัท มีกําหนดการประชุมคณะกรรมการ ไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาผลการดําเนิน
ธุรกิจของบริษัทฯ และพิจารณารายงานงบการเงิน กําหนดนโยบายและทิศทางการดําเนินงานของบริษัทฯ ให้
คําแนะนํา และกํากับควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล อย่างไรก็ตามอาจจะมีประชุมเพิ่มตามความจําเป็น เพื่อพิจารณาวาระพิเศษต่าง ๆ ซึ่งบริษัทได้
จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสาร ก่อนการประชุมล่วงหน้า - วัน เพื่อให้
คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ
ในการพิจารณาเรื่องต่างๆกรรมการทุกคนสามารถที่จะแสดงความเห็นได้อย่างมีอิสระและในการลง
ความเห็นจะใช้มติเสียงข้างมากโดยกรรมการคนหนึ่งจะมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน และเมื่อสิ้นสุดการประชุม
เลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯเป็นผู้จัดทํารายงานการประชุมและจัดส่งให้ประธานกรรมการและรองประธาน
กรรมการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลทั้งนี้จะมีการเสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม
เป็ นวาระแรกในการประชุมครั้งถัดไป นอกจากนี้หากในการประชุมมีกรรมการท่านใดที่มีส่วนได้เสียในวาระประชุม
นั้น คณะกรรมการรายดังกล่าวจะไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนในวาระการประชุมนั้นๆได้
ภาวะผ้นําและวิสัยทัศน์บริษัทฯได้กําหนดวิสัยทัศน์ว่าบริษัทฯมุ่งหวังที่จะเป็นผู้นําทางด้าน Electronics Manufacturing Services (EMS)
และให้บริการเป็นเลิศแก่ลูกค้าทั้วทุกมุมโลก โดยคณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ วิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจและงบประมาณของบริษัทฯ ตลอดจนกํากับดูแลให้ฝ่ายจัดการดําเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย
ตามธุรกิจ และงบประมาณที่กําหนดไว้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ในกรณีที่เกิดรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน คณะกรรมการบริษัท
รวมถึงคณะกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบจะดําเนินการพิจารณาความสมเหตุสมผลของรายการนั้นๆอย่าง
รอบคอบ รวมทั้งปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการตัดสินใจเข้าทํารายการจะต้องเป็นไป
ด้วยความโปร่งใส เสมือนหนึ่งกับการทํารายการกับบุคคลภายนอก (arm’s length basis) เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯรวมทั้งผู้ถือหุ้นทุกราย
จริยธรรมธุรกิจ
ในด้านจริยธรรมทางธุรกิจ บริษัทฯ ได้รับเอาแนวทางการปฏิบัติที่ดีสําหรับคณะกรรมการซึ่งกําหนดโดยตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาเป็ นแนวทางจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อให้ผู้บริหารได้ปฏิบัติตาม ซึ่งบริษัทฯ จะตรวจสอบ
แนวทางจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนที่ดีและเหมาะสมในองค์กร บริษัท
ยังมีกฎของพนักงานเพื่อเป็ นการตั้งมาตรฐานการทํางาน คุณภาพ และตัวพนักงานด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น