วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หลักของมาตรฐาน ISO 9001:2000

     หลักการมาตรฐานของ ISO 9001:2000 จะเป็นการระบุถึงข้อกำหนดที่ใช้ในระบบบริหารที่เกี่ยวกับคุณภาพ โดยเป้าหมายเพื่อการสร้างความพอใจให้ต่อลูกค้า มากกว่าจะเน้นการทดสอบหรือตรวจสอบใบผลิตภัณฑ์หรือบริการ การส่งเสริมจะมีการเน้นแนวทางจัดการโดยใช้กระบวนการในการบริหารงานด้านคุณภาพขององค์กรแบบภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมแบบไหนก็ตาม ที่การรับเอาเข้ามาหรือที่เรียกกันว่า “Inputs” จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นผลิตผลของกิจกรรมเหล่านั้น ทำการส่งออกไปเรียกกันว่า “Outputs” กระบวนการดังกล่าวอาจเรียกว่าเป็น “a process”
     ตามหลักธรรมชาติ แต่ละองค์กรธุรกิจขนาดเล็กจะประกอบขึ้นจากหลายหน่วยงาน มีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามการดำเนินงาน แต่จะสอดประสานกันภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกันแบบไม่แตกแยก มีกฎเกณฑ์และกติกาในการทำงานแบบเดียวกัน
      เพราะฉะนั้นองค์กรที่เน้นการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ย่อมสามารถระบุได้ว่าแต่ละกิจกรรมทุกอย่างภายในองค์กรย่อยได้อย่างชัดเจนมากที่สุด ซึ่งรวมไปถึงกระบวนการต่างๆ เพราะผลิตที่ผลที่ถูกป้อนออก จะเป็นตัวป้อนเข้าให้กับอีกกระบวนการหนึ่งในหน่วยถัดไป ซึ่งเราเรียกกระบวนหารทั้งหมดภายในองค์การอย่างเป็นระบบเดียวกันเหล่านี้ รวมถึงการสรางปฏิสัมพันธ์ภายใน เรียกได้ว่าเป็น “การจัดการด้านคุณภาพโดยการมองแบบกระบวนการ” หรือ “Process approach to quality management”

ISO 9001:2000 หลักประกันที่บอกเราได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีคุณภาพจริงหรือ ?

      เนื่องจากตัวมาตรฐานดังกล่าว จะเน้นให้เกิดความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา ซึ่งการที่จะรับประกันว่าองค์กรดังกล่าวจะคอยส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และปรับปรุงจุดด้อยของตัวเอง ให้เกิดความพึงพอใจกับลูกค้าสูงสุดในระยะยาว

ข้อกำหนดของ ISO 9001:2000

ข้อกำหนดมาตรฐานที่เกิดขึ้นดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้คือ
  1. เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรมีความสามารถในการผลิตสินค้าพร้อมส่งมอบไปยังลูค้าให้ตรงกับความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด
  2. ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุความพึงพอใจต่อลูกค้า ด้วยการจัดการระบบบริหารงานให้มีคุณภาพ พร้อมปรับปรุงระบบในระยะยาว เป็นตัวรับประกันได้ว่าข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะตรงตามวัตถุประสงค์ต่อไป

เหตุผลที่ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในมาตรฐานดังกล่าว

      เนื่องจากไม่มีระบบบริหารใดที่สามารถช่วยทำให้การจัดการควบคุมองค์กรให้ดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทางผู้บริหาร ดังนั้นการนำเอามาตรฐานดังกล่าวมาใช้ จะทำให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน และประสบผลสำเร็จได้ดีกว่า

ประโยชน์ของระบบ ISO 9001:2000 สำหรับองค์กร

  1. ช่วยให้เกิดการบริหารที่เป็นระบบมาตรฐาน ลดข้อบกพร่อง ง่ายต่อการตรวจสอบผลงานตามแผนงานที่วางไว้ และยังง่ายต่อการปรับปรุง
  2. มีมาตรฐานตามที่ระบุเอาไว้ในนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ง่ายต่อการเดินหน้าสู่เป้าหมายให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
  3. มีเครื่องมือช่วยตรวจสอบภาในองค์กร ป้องกันการขาดระบบรองรับ
  4. ช่วยให้มีเครื่องมือดักจับปัญหาที่เข้ามา ลดการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และเข้าแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างตรงจุด
  5. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งสินค้าและบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า
  6. ลดจำนวนแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ สามารถเลือกแรงงานที่มีพื้นฐานดีไม่บกพร่องเข้ามาทำงานได้ดี
  7. ช่วยเพิ่มกำลังใจในการทำงานภายในองค์กรให้สูงขึ้น เพราะพนักงานทราบถึงเป้าหมายของงานว่าคืออะไร

ประโยชน์ที่ได้รับต่อลูกค้าภายนอกองค์กร

  1. ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ
  2. ได้รับการยอมรับในระดับสากล
  3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความพึงพอใจตามที่คาดหวัง
  4. ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากขึ้น
  5. ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน
      จะเห็นได้ว่า ISO เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีเพียงแค่ ISO 9000 เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลาย ISO ที่ถูกตั้งขึ้นตามระบบหมายเลขสากลที่ถูกคิดขึ้น ซึ่งมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับทั้งองค์กรและลูกค้าได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด

การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร


การจัดการความขัดแย้งในองค์กร

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (The Responsibilities of the Board) 
       คณะกรรมการเป็นผู้ มีบทบาทในการกํากับและดูแลกิจการเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ คณะกรรมการมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ ทั้งนี้โครง
สร้าง คณะกรรมการบริษัทฯ ปัจจุบันมีกรรมการ 9 คนแบ่งออกเป็นกรรมการ 2 ชุด โดยมีกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 8 คน บริษัทฯ มีประธานกรรมการที่ไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการผู้จัดการ และได้มีการแบ่งแยกอํานาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และกรรมการผู้จัดการไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งบริษัทฯ มีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่ง เป็นกรรมการอิสระ 3 ท่าน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและการสอบทานการบริหารงานของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล และเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายย่อย คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อช่วยในการกํากับดูแลกิจการของบริษัทฯ รายชื่อและอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปตามรายละเอียดในข้อหัวข้อกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบจะมีการประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้งเพื่อพิจารณางบการเงิน การตรวจสอบภายใน และการดําเนินงานต่างๆของบริษัทฯ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)
           คณะกรรมการบริษัท มีกําหนดการประชุมคณะกรรมการ ไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาผลการดําเนิน ธุรกิจของบริษัทฯ และพิจารณารายงานงบการเงิน กําหนดนโยบายและทิศทางการดําเนินงานของบริษัทฯ ให้ คําแนะนํา และกํากับควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล อย่างไรก็ตามอาจจะมีประชุมเพิ่มตามความจําเป็น เพื่อพิจารณาวาระพิเศษต่าง ๆ ซึ่งบริษัทได้ จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสาร ก่อนการประชุมล่วงหน้า - วัน เพื่อให้ คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ ในการพิจารณาเรื่องต่างๆกรรมการทุกคนสามารถที่จะแสดงความเห็นได้อย่างมีอิสระและในการลง ความเห็นจะใช้มติเสียงข้างมากโดยกรรมการคนหนึ่งจะมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน และเมื่อสิ้นสุดการประชุม เลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯเป็นผู้จัดทํารายงานการประชุมและจัดส่งให้ประธานกรรมการและรองประธาน กรรมการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลทั้งนี้จะมีการเสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม เป็ นวาระแรกในการประชุมครั้งถัดไป นอกจากนี้หากในการประชุมมีกรรมการท่านใดที่มีส่วนได้เสียในวาระประชุม นั้น คณะกรรมการรายดังกล่าวจะไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนในวาระการประชุมนั้นๆได้ ภาวะผ้นําและวิสัยทัศน์บริษัทฯได้กําหนดวิสัยทัศน์ว่าบริษัทฯมุ่งหวังที่จะเป็นผู้นําทางด้าน Electronics Manufacturing Services (EMS) และให้บริการเป็นเลิศแก่ลูกค้าทั้วทุกมุมโลก โดยคณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ วิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจและงบประมาณของบริษัทฯ ตลอดจนกํากับดูแลให้ฝ่ายจัดการดําเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย ตามธุรกิจ และงบประมาณที่กําหนดไว้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีที่เกิดรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน คณะกรรมการบริษัท รวมถึงคณะกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบจะดําเนินการพิจารณาความสมเหตุสมผลของรายการนั้นๆอย่าง รอบคอบ รวมทั้งปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการตัดสินใจเข้าทํารายการจะต้องเป็นไป ด้วยความโปร่งใส เสมือนหนึ่งกับการทํารายการกับบุคคลภายนอก (arm’s length basis) เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯรวมทั้งผู้ถือหุ้นทุกราย จริยธรรมธุรกิจ ในด้านจริยธรรมทางธุรกิจ บริษัทฯ ได้รับเอาแนวทางการปฏิบัติที่ดีสําหรับคณะกรรมการซึ่งกําหนดโดยตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาเป็ นแนวทางจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อให้ผู้บริหารได้ปฏิบัติตาม ซึ่งบริษัทฯ จะตรวจสอบ แนวทางจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนที่ดีและเหมาะสมในองค์กร บริษัท ยังมีกฎของพนักงานเพื่อเป็ นการตั้งมาตรฐานการทํางาน คุณภาพ และตัวพนักงานด้วย

การจัดการความเสี่ยง

งานคั้งที่ 2
 ปัจจัยความเสียงที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน
        1 ความเสี่ยงจากการล้าสมัยของสินค้าคงคลัง การจัดหาวัตถุดิบและการวางแผนการผลิตของบริษัทฯนั้นจะเป็นไปตามประมาณการของลูกค้า ซึ่งจะสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ตามเงื่อนไขของการซื้อขายสินค้า บริษัทฯได้จัดตั้งทีมงานและระบบการจัดการเพื่อให้สามารถรักษา ระดับของสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันบริษัทฯได้นําระบบผลิตตามคําสั่ง (Make to Order) มาใช้เป็นนโยบายผลิตสินค้า โดยยอดขายส่วน ใหญ่จะมาจากการผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้าของลูกค้า (OEM) ซึ้งมีความเสี่ยงด้านการล้าสมัยของสินค้าคงคลัง จํากัด ทั้งนี้อัตราส่วนสินค้าล้าสมัย ณ สิ้นปี STTZ อยู่ที่ระดับร้อยละ R.WR ซึ่งลดลงจาก ณ สิ้นปี STTT ทีมร้อยละ R.WW อย่างไรก็ตามยอดขายแบบ ODM ซึ้งจะมีความเสี่ยงในเรื่องการล้าสมัยของวัตถุดิบคงคลังมากกว่าจะส่งผลกระทบ เพียงเล็กน้อยต่อบริษัทฯ เนื่องจากรายได้จากสินค้า ODM เป็ นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น บริษัทฯ มีการวางนโยบายการควบคุมสินค้าคงคลังที่ล้าสมัยอย่างเคร่งครัดโดยการควบคุมตารางการส่งสินค้า และวัตถุดิบเพื่อลดความเสี่ยงได้ วัตถุดิบและสินค้าคงคลังที่ล้าสมัยจะได้รับการประเมินมูลค่าทุกไตรมาสจากผู้สอบ บัญชีซึ้งจะเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และบริษัทฯจะทําการตัดบัญชีสําหรับสินค้าหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการ เคลื่อนไหวเกิน S ปี
        2 ความเสี'ยงจากการพึ'งพิงลูกค้ารายใหญ่ บริษัทฯจึงมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้ามาเป็นเวลานาน ด้วยการให้บริการด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และร่วมทํางานอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับทั้ง 2 ฝ่าย บริษัทฯคาดว่าลูกค้า รายใหญ่นี้จะยังคงสร้ างส่วนแบ่งรายได้หลักให้กับบริษัทฯต่อไปในอนาคต ในขณะเดียวกันบริษัทฯเองยังคงมุ่งมั่นใน การพัฒนาสินค้าใหม่และ ตลาดใหม่ๆอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น โดยการเข้าไปทําตลาดในอุตสาหกรรม ใหม่เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

        3 ปัจจัยความเสี'ยงจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีอิทธิพลกําหนดนโยบายการบริหารงานของบริษัทฯ ปัจจุบัน คณะกรรมการของบริษัทฯ 4 ท่านได้รับการแต่งตั(งจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ Kinpo Electronics Inc. อย่างไรก็ตาม Kinpo ไม่สามารถควบคุมมติสําคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เนื่องจากการลงมติ ในการผ่านวาระที่ สําคัญกําหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ หรือการขอมติใน เรื่องอื่นๆ ที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับบริษัทฯกําหนด ดังนั้นผู้ถือ หุ้นรายอื่นจึงสามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอได้
       4 ปัจจัยความเสี'ยงจากการมุ่งเน้นปริมาณการสั'งซืEอวัตถุดิบ บริษัทฯได้จัดตั้งศูนย์การจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อให้มั่นใจในตารางการขนส่งที่ตรงเวลาและคุณภาพของคู่ค้าเพื่อลด ความเสี่ยงโดยการมุ่งเน้นไปยังคู่ค้าเฉพาะราย ในขณะที่บริษัทฯได้จัดตั้งศูนย์การตรวจสอบคุณภาพเพื่อทําการ ตรวจสอบวัตถุดิบอย่างเข้มงวดก่อนนําเข้าสู่กระบวนการผลิต ทําให้บริษัทฯสามารถรักษาคุณภาพในการผลิตไว้ได้ นอกจากนี้วัตถุดิบที่ซื้อมากจากลูกค้า (Consigned Material) นั้นก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามวิธีการ ของบริษัทฯ เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
        5 ปัจจัยความเสี่ยงจากความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนถือเป็นส่วนสําคัญในการดําเนินกิจการและขยายการเติบโตของธุรกิจซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่กระทบ โดยตรงต่อบริษัทฯ ทั้งนี้เงินทุนหมุนเวียนจะมาจากการดําเนินงาน เงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวจากสถาบันการเงิน บริษัทฯมีเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว ณ วันที่ QR ธันวาคม STT6 ทั้งสิ้น SR,QSS.[Y ล้านบาท โดยคิดเป็นรัอยละ 50.50 ของหนี้สิ้นรวมทั้งหมด และ ณ วันที่ QR ธันวาคม STT6 บริษัทฯและบริษัทย่อย มีวงเงินสินเชื่อและเงินกู้ยืมระยะยาว คงเหลือจํานวน 663 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ SR,SuR.TY ล้านบาท บริษัทฯจึงมีความมั่นใจว่ายังสามารถขยาย กิจการให้เติบโตได้ในอนาคต และทั้งนี้ความต้องการใช้เงินทุนในอนาคตนั้นจะขึ้นอยู่กับแผนการขยายธุรกิจและโอกาสใน การเข้าลงทุนในกิจการต่างๆ
2.1 ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเศรษฐกิจและตลาดเงิน
         2.1 ความเสี'ยงจากการผันผวนของดอกเบีEย บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สําคัญอันเกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงินและเงินกู้ยืมที่มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยที้ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด หรือมี อัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราตลาดในปัจจุบัน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของบริษัทฯและบริษัทย่อยจึงอยู่ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)ในระดับตํ่า ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้ อยละ R.\ ถึง ร้ อย Q.[ ในขณะที่บริษัทฯมีเงินกู้ยืมทั้งระยะสั้นและระยะ ยาวจากสถาบันการเงินเพื่อสร้างความมั่นคงในการดําเนินงานของบริษัทฯ
     2.2 ความเสี'ยงจากอัตราแลกเปลี'ยน บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สําคัญอันเกี่ยวเนื่องจากการซื้อหรือขายสินค้า และการกู้ยืมหรือให้ กู้ยืมเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ เพราะฉะนั้นความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลเงินเหรียญสหรัฐที่อาจจะ ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของบริษัทฯได้ อย่างไรก็ดีบริษัทฯได้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนโดยการจับคู่ระหว่าง สินทรัพย์และหนี้สินที่มีสกุลเงินเดียวกัน (Naturally hedged) ซึ้งสามารถลดความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ส่วน หนึ่ง นอกจากนี้บริษัทฯได้พยายามติดตามสภาวะเศรษฐกิจของโลกและการเคลื่อนไหวของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน อย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสียงในการสูญเสียดังกล่าว
     2.3 ความเสี่ยงจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ บริษัทเล็งเห็นถึงความสําคัญถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกับภัยพิบัติตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงได้มีการ วางแผนการป้องกันรวมถึงมีการฝึกอบรมพนักงานเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเป็นประจํา นอกจากนี้บริษัทฯยังมีฐานการผลิตอยู่ทั่ว โลกซึ่งเป็นการวางแผนที่ดีและสามารถที่จะสนับสนุนการผลิตได้ทันท่วงทีเมื่อมีผลกระทบกับสายการผลิตที่ใดที่หนึ่งซึ่งไม่ เพียงเฉพาะเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า แต่ยังรวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอีกด้วย

หุ้นส่วนในสถานประกอบการ


หลักของมาตรฐาน ISO 9001:2000      หลักการมาตรฐานของ ISO 9001:2000 จะเป็นการระบุถึงข้อกำหนดที่ใช้ในระบบบริหารที่เกี่ยวกับคุณภาพ โดยเป้าหมา...